วันพฤหัสบดีที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2553
ครั้งที่ 13 วันที่ 30 กันยายน 2553
อาจารย์สั่งให้นำกระดาษลัง เพื่อที่จะให้แต่ละคนทำป้ายนิเทศโดยให้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ของตัวเอง โดยนำความรู้ที่เรียนมามาสร้างสรรค์ป้ายนิเทศ อาจารย์จะดูความคิดสร้างสรรค์ ความเรียบร้อย ความสวยงามความสะอาด และให้นักศึกษาทำงานร่วมกัน โดยทุกคนใช้อุปกรณ์ที่อาจารย์นำมาให้ทุกคนมีการแบ่งปันสิ่งของให้กันใช้ มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน ผลงานของดิฉันทำเกี่วกับ 1 สัปดาห์ มี 7 วัน
ครั้งที่ 12 วันที่ 23 กันยายน 2553
อาจารย์สั่งให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มทำที่ใส่แป้งโดว์พร้อมอุปกรณ์เล่นกับแป้งโดว์มาส่ง
ครั้งที่ 11 วันที่ 16 กันยายน 2553
อาจารย์ให้เตรียมอุปกรณ์มาทำแป้งโดว์ กลุ่มของดิฉันได้เตรียมกระทะไฟฟ้าไป และมีส่วนประกอบดังนี้
เกลือ 1/2 ถ้วย
แป้งสาลี 1 ถ้วย
สารส้มป่น 2 ช้อนโต๊ะ
น้ำ 1 ถ้วย
ทาทาครีม 1 ช้อนโต๊ะ หรือใช้น้ำมันมะกอกแทนก็ได้
สีผสมอาหาร
*วิธีทำ*
นำเกลือแป้งสาลีสารส้มป่นผสมให้เข้ากันจากนั้นค่อยเติมนำและน้ำมันมะกอกทีละน้อยคนให้เข้ากันและวใส่สีผสมอาหารจากนั้นนำขึ้นตั้งไฟกวนจนแป้งไม่ติดภาชนะแล้วนำมานวด นำเก็บใส่ถาชนะให้มิดชิด(ไม่ต้องแช่เย็น)
เกลือ 1/2 ถ้วย
แป้งสาลี 1 ถ้วย
สารส้มป่น 2 ช้อนโต๊ะ
น้ำ 1 ถ้วย
ทาทาครีม 1 ช้อนโต๊ะ หรือใช้น้ำมันมะกอกแทนก็ได้
สีผสมอาหาร
*วิธีทำ*
นำเกลือแป้งสาลีสารส้มป่นผสมให้เข้ากันจากนั้นค่อยเติมนำและน้ำมันมะกอกทีละน้อยคนให้เข้ากันและวใส่สีผสมอาหารจากนั้นนำขึ้นตั้งไฟกวนจนแป้งไม่ติดภาชนะแล้วนำมานวด นำเก็บใส่ถาชนะให้มิดชิด(ไม่ต้องแช่เย็น)
ครั้งที่ 10 วันที่ 9 กันยายน 2553
อาจารย์นัดให้ส่งงาน Pop Up ที่สั่งในอาทิตย์ที่แล้ว 3 ชิ้น และนัดส่งงานที่ยังค้างอยู่อันเก่าทั้งหมด และให้นักศึกษาทำเกมการศึกษาคนละ 1 เกม
ครั้งที่ 9 วันที่ 2 กันยายน 2553
วันนี้อาจารย์นัดนักศึกษาเรียนด้วยกันทั้ง 2 กลุ่ม กลุ่ม 101 และกลุ่ม 102 อาจารย์นำเกมการศึกษามาหลายประเภทและได้ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มเล่นเกมการศึกษา เพื่อที่จะได้เป็นแนวในการทำเกมการศึกษาเป็นของเราเอง ในเกมแต่ละเกมก็จะมีสาระการเรียนรู้ที่มากมาย เกมการศึกษาที่อาจารย์นำมาสามารถพัฒนาศักยภาพของเด็กได้ทั้งทางร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา เกมการศึกษาก็ยังเป็นแนวทางในการทำสื่อสอนเด็กเมื่อเรวประกอบอาชีพครู
ครั้งที่ 8 วันที่ 19 สิงหาคม 2553
จากที่เข้าอบรมในวันเสาร์ที่ 14 สิงหาคม 2553 ที่ผ่านมาอาจารย์ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับสื่อหลากหลายรูปแบบ และก็ได้สอนวิธีทำสื่อด้วยว่าทำอย่างไร อาจารย์มีตัวอย่างสื่อมาให้ดูมากมายหลายชนิด และอาจารย์ได้ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มเพื่อที่จะได้ทำงานเป็นกลุ่มกลุ่มละหนึ่งชิ้น กลุ่มของดิฉันได้จับคู่ภาพกับเงาพอได้หัวข้อมาแล้วว่าทำอะไรเพื่อนทุกคนในกลุ่มก็ต่างช่วยกันทำงาน และพอถึงท้ายชั่วโมงอาจารย์ได้ให้งานเป็นการบ้านกลับไปทำที่บ้าน (เป็นงานเดี่ยว)
วันเสาร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
ครั้งที่ 7 วันที่ 29 กรกฏาคม 2553
เกมการศึกษา
จุดประสงค์เกมการศึกษา
-เพื่อฝึกใช้ความคิดอย่างมีเหตุผล
-เพื่อฝึกการจัดหมวดหมู่
คุณค่าเกมการศึกษา
- พัฒนาการคิดและการหาเหตุผล
- ฝึกการสังเกตและการเปรียบเทียบ
- ฝึกฝนและพัฒนาความสามารถในการใช้ประสาทสัมผัส เพื่อให้เกดการเรียนรุ้
วิธีการเล่น
- จับคู่รูปภาพที่มีความสัมพันธ์กัน โดยนำภาพด้านล่างไปใส่ เช่น ไก่คู่กับไข่ ลิงคู่กับกล้วย
-เพื่อฝึกใช้ความคิดอย่างมีเหตุผล
-เพื่อฝึกการจัดหมวดหมู่
คุณค่าเกมการศึกษา
- พัฒนาการคิดและการหาเหตุผล
- ฝึกการสังเกตและการเปรียบเทียบ
- ฝึกฝนและพัฒนาความสามารถในการใช้ประสาทสัมผัส เพื่อให้เกดการเรียนรุ้
วิธีการเล่น
- จับคู่รูปภาพที่มีความสัมพันธ์กัน โดยนำภาพด้านล่างไปใส่ เช่น ไก่คู่กับไข่ ลิงคู่กับกล้วย
วันอังคารที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
ครั้งที่ 6 วันที่ 22 กรกฏาคม 2553
สื่อสำหรับเด็กปฐมวัย
ความสำคัญ
- ทำให้สิ่งที่เป็นนามธรรมเป็นรูปธรรม
- ได้ประสบการณ์ตรงจำได้นาน
- รวดเร็ว,เพลิดเพลิน,เข้าใจง่าย
ลักษณะของสื่อที่ดี
- ต้องมีความปลอดภัย
- ประโยชน์ที่เด็กได้รับเหมาะสมกับความสามารถของเด็กและความสนใจ
- ประหยัด
- มีประสิทธิภาพ
หลักการเลือกสื่อ
- คุณภาพดี
- เด็กเข้าใจง่าย
- เลือกให้เหมาะสมกับสภาพของศูนย์
- เหมาะสมกับวัย
- เหมาะสมกับเวลาที่ใช้
- เด็กได้มีส่วนร่วมในกิจกรรม
- ถูกต้องตามเนื้อหาและทันสมัย
- เด็กได้คิดเป็นทำเป็นกล้าแสดงออก
การประเมินการใช้สื่อ
(พิจารณาจากครูผู้ใช้สื่อสอนเด็ก)
- สื่อช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้เพียงใด
- เด็กชอบสื่อชนิดนั้นเพียงใด
- สื่อช่วยช้สอนตรงกับจุดประสงค์หรือไม่ถูกต้อง
- สื่อมีความสนใจมากน้อยเพียงใด
สรุป
เด็กจะเกิดการเรียนรู้ได้ต้องมีประสบการณ์ตรงได้ลงมือปฏิบัติ สื่อก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้โดยผ่านการสังเกต การฟัง การจำ การสัมผัส เช่น เกมกาศึกษา สื่อที่ใช้ต้องมีความคงทนแข็งแรงเหมาะสมกับวัยของเด็กและใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย
ความสำคัญ
- ทำให้สิ่งที่เป็นนามธรรมเป็นรูปธรรม
- ได้ประสบการณ์ตรงจำได้นาน
- รวดเร็ว,เพลิดเพลิน,เข้าใจง่าย
ลักษณะของสื่อที่ดี
- ต้องมีความปลอดภัย
- ประโยชน์ที่เด็กได้รับเหมาะสมกับความสามารถของเด็กและความสนใจ
- ประหยัด
- มีประสิทธิภาพ
หลักการเลือกสื่อ
- คุณภาพดี
- เด็กเข้าใจง่าย
- เลือกให้เหมาะสมกับสภาพของศูนย์
- เหมาะสมกับวัย
- เหมาะสมกับเวลาที่ใช้
- เด็กได้มีส่วนร่วมในกิจกรรม
- ถูกต้องตามเนื้อหาและทันสมัย
- เด็กได้คิดเป็นทำเป็นกล้าแสดงออก
การประเมินการใช้สื่อ
(พิจารณาจากครูผู้ใช้สื่อสอนเด็ก)
- สื่อช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้เพียงใด
- เด็กชอบสื่อชนิดนั้นเพียงใด
- สื่อช่วยช้สอนตรงกับจุดประสงค์หรือไม่ถูกต้อง
- สื่อมีความสนใจมากน้อยเพียงใด
สรุป
เด็กจะเกิดการเรียนรู้ได้ต้องมีประสบการณ์ตรงได้ลงมือปฏิบัติ สื่อก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้โดยผ่านการสังเกต การฟัง การจำ การสัมผัส เช่น เกมกาศึกษา สื่อที่ใช้ต้องมีความคงทนแข็งแรงเหมาะสมกับวัยของเด็กและใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย
วันพฤหัสบดีที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
ครั้งที่ 5 วันที่ 15 กรกฎาคม 2553
การใช้สื่อสอนเด็กปฐมวัย
สื่อเรื่องอวัยวะส่วนต่างๆของร่างกาย
- สอนเด็กอายุตั้งแต่ 4 ปีขึ้นไป
วัตถุประสงค์
- สื่อตัวนี้เกิดการเรียนรู้ในเรื่องให้เด็กได้รู้จักอวัยวะส่วนต่างๆของร่างกาย โดยเด็กจะได้ใช้ประสาทสัมพันธ์คือกล้ามเนื้อมัดเล็ก(มือ) และตา
- สื่อตัวนี้เกิดการเรียนรู้ในด้านสื่อการเรียนการสอนเสริมประสบการณ์ให้กับเด็ก
- สื่อตัวนี้ยังสามารถนำไปใช้ในการสอนหน่วยอื่นๆได้ เช่น นำตัวการ์ตูนไปเล่านิทานให้กับเด็กได้ฟัง
- สื่อตัวนี้เป็นเกมให้เด็กมีความสนุกสนานกับการใส่คำให้ถูกต้อง
- สื่อตัวนี้สามารถเล่นเป็นกลุ่มย่อยหรืออาจเล่นเป็นคู่ได้ทำให้เด็กได้เล่นกับเพื่อนๆซึ่งสอดคล้องกับพัฒนาการทางด้านสังคมของเด็ก
วิธีการเล่น
1.ต้องสอนให้เด็กได้รู้จักอวัยวะส่วนต่างๆของร่างกายของตัวเองก่อนว่าส่วนไหนเป็นปาก จมูก ตา แขน ขา
2.ต้องสอนให้เด็กได้รู้จักคำ
3.นำเอาคำที่ให้ไว้ไปใส่ให้ตรงกับรูปภาพอวัยวะให้ถูกต้อง
สื่อเรื่องอวัยวะส่วนต่างๆของร่างกาย
- สอนเด็กอายุตั้งแต่ 4 ปีขึ้นไป
วัตถุประสงค์
- สื่อตัวนี้เกิดการเรียนรู้ในเรื่องให้เด็กได้รู้จักอวัยวะส่วนต่างๆของร่างกาย โดยเด็กจะได้ใช้ประสาทสัมพันธ์คือกล้ามเนื้อมัดเล็ก(มือ) และตา
- สื่อตัวนี้เกิดการเรียนรู้ในด้านสื่อการเรียนการสอนเสริมประสบการณ์ให้กับเด็ก
- สื่อตัวนี้ยังสามารถนำไปใช้ในการสอนหน่วยอื่นๆได้ เช่น นำตัวการ์ตูนไปเล่านิทานให้กับเด็กได้ฟัง
- สื่อตัวนี้เป็นเกมให้เด็กมีความสนุกสนานกับการใส่คำให้ถูกต้อง
- สื่อตัวนี้สามารถเล่นเป็นกลุ่มย่อยหรืออาจเล่นเป็นคู่ได้ทำให้เด็กได้เล่นกับเพื่อนๆซึ่งสอดคล้องกับพัฒนาการทางด้านสังคมของเด็ก
วิธีการเล่น
1.ต้องสอนให้เด็กได้รู้จักอวัยวะส่วนต่างๆของร่างกายของตัวเองก่อนว่าส่วนไหนเป็นปาก จมูก ตา แขน ขา
2.ต้องสอนให้เด็กได้รู้จักคำ
3.นำเอาคำที่ให้ไว้ไปใส่ให้ตรงกับรูปภาพอวัยวะให้ถูกต้อง
ครั้งที่ 4 วันที่ 8 กรกฏาคม 2553
การแบ่งประเภทสื่อ
- ตามระดับประสบการณ์การเรียนรู้ของผู้เรียนที่ได้รับจากสื่อ
- ตามลักษณะของสิ่งหรือวิธีการใช้งาน
การเรียนรู้ คือการเปลี่ยนแปลงวิธีการทำ
ประสบการณ์ คือสิ่งที่เคยทำหรือกระทำอยู่
แนวคิดของเอ็ดการ์ เดล (Edgar Dale)กรวย 11 กลุ่ม
ประกอบด้วย
1.ประสบการณ์ตรง เป็นประสบการณ์ที่เป็นรูปธรรมโดยให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์จากของจริง สถานการณ์จริง หรือการกระทำด้วยตนเองเช่นการจับต้องและการเห็นเป็นต้น
2.ประสบการณ์รอง เป็นการเรียนรู้โดยให้ผู้เรียนเรียนจากสิ่งที่ใกล้เคียงความเป็นจริงที่สุด ซึ่งอาจเป็นของจำลองหรือสถานการณ์จำลองก็ได้
3.ประสบการณ์นาฏการหรือการแสดง
เป็นการแสดงบทบาทสมมติหรือการแสดงละครเพื่อเป็นการจัดประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียนในเรื่องที่มีข้อจำกัดในยุคสมัย เวลาและสถานที่
4.การสาธิต เป็นการแสดงหรือกระทำประกอบคำอธิบายเพื่อให้เห็นลำดับขั้นตอนของการกระทำนั้น
5.การศึกษานอกสถานที่ เป็นการให้ผู้เรียนรับประสบการณ์ต่างๆ ภายนอกสถานที่จริงอาจเป็นการท่องเที่ยว การเยี่ยมชมสถานที่ต่างๆ หือการสัมภาษณ์เหล่านี้ เป็นต้น
6.นิทรรศการ เป็นการจัดแสดงสิ่งของต่างๆ การจัดป้ายนิเทศเพื่อให้สาระประโยชน์และความรู้แก่ผู้ชม
7.โทรทัศน์ โดยใช้ทั้งโทรทัศน์การศึกษาและโทรทัศน์เพื่อการเรียนการสอนเพื่อให้ข้อมูลความรู้แก่ผู้เรียนหรือผู้ชมที่อยู่ในห้องเรียนหรืออยู่ทางบ้านและใช้ส่งได้ทั้งในระบบวงจร
8.ภาพยนต์ เป็นภาพเคลื่อนไหวที่บันทึกเหตุการณ์เรื่องราวเหตุการณ์ลงบนฟิล์มเพื่อให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ทั้งภาพและเสียงโดยใช้ประสาทตาและหูหรืออาจจะเป็นการเห็นเพียงภาพเคลื่อนไหว
9.การบันทึกเสียงวิทยุภาพนิ่ง
เป็นได้ทั้งในรูปของแผ่นเสียงหรือเทปบันทึกเสียง
10.ทัศนสัญลักษณ์ เช่น แผนที่ แผนสถิติ หรือเครื่องหมายต่างๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่เป็นสัญลักษณ์แทนความเป็นจริงของสิ่งต่างๆ
11.วจนสัญลักษณ์ เป็นประสบการณ์ขั้นที่เป็นนามธรรมมากที่สุด ได้แก่ ตัวหนังสือในภาษาเขียนและเสียงของคำพูดในภาษาพูด
3.ประสบการณ์นาฏการหรือการแสดง
เป็นการแสดงบทบาทสมมติหรือการแสดงละครเพื่อเป็นการจัดประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียนในเรื่องที่มีข้อจำกัดในยุคสมัย เวลาและสถานที่
4.การสาธิต เป็นการแสดงหรือกระทำประกอบคำอธิบายเพื่อให้เห็นลำดับขั้นตอนของการกระทำนั้น
5.การศึกษานอกสถานที่ เป็นการให้ผู้เรียนรับประสบการณ์ต่างๆ ภายนอกสถานที่จริงอาจเป็นการท่องเที่ยว การเยี่ยมชมสถานที่ต่างๆ หือการสัมภาษณ์เหล่านี้ เป็นต้น
6.นิทรรศการ เป็นการจัดแสดงสิ่งของต่างๆ การจัดป้ายนิเทศเพื่อให้สาระประโยชน์และความรู้แก่ผู้ชม
7.โทรทัศน์ โดยใช้ทั้งโทรทัศน์การศึกษาและโทรทัศน์เพื่อการเรียนการสอนเพื่อให้ข้อมูลความรู้แก่ผู้เรียนหรือผู้ชมที่อยู่ในห้องเรียนหรืออยู่ทางบ้านและใช้ส่งได้ทั้งในระบบวงจร
8.ภาพยนต์ เป็นภาพเคลื่อนไหวที่บันทึกเหตุการณ์เรื่องราวเหตุการณ์ลงบนฟิล์มเพื่อให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ทั้งภาพและเสียงโดยใช้ประสาทตาและหูหรืออาจจะเป็นการเห็นเพียงภาพเคลื่อนไหว
9.การบันทึกเสียงวิทยุภาพนิ่ง
เป็นได้ทั้งในรูปของแผ่นเสียงหรือเทปบันทึกเสียง
10.ทัศนสัญลักษณ์ เช่น แผนที่ แผนสถิติ หรือเครื่องหมายต่างๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่เป็นสัญลักษณ์แทนความเป็นจริงของสิ่งต่างๆ
11.วจนสัญลักษณ์ เป็นประสบการณ์ขั้นที่เป็นนามธรรมมากที่สุด ได้แก่ ตัวหนังสือในภาษาเขียนและเสียงของคำพูดในภาษาพูด
- เอ็ดการ์ เดลย์ (Dale, 1969) ได้กำหนดให้การศึกษานอกสถานที่ เป็นประสบการณ์ที่เป็นรูปธรรมประเภทหนึ่ง ในลำดับขั้นของกรวยประสบการณ์ (Cone of Experience) และกล่าวว่าการศึกษานอกสถานที่ เป็นการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันในประสบการณ์การเรียนรู้ที่หลากหลายที่นำไปสู่ความสมบูรณ์ชัดเจนในเรื่องต่างๆ ประสบการณ์ตรงที่มีคุณค่า สามารถจะเกิดขึ้นได้ในระหว่างศึกษานอกสถานที่ โดยตัวของกิจกรรมการศึกษานอกสถานที่นั้น คือการดำเนินการสังเกตในสิ่งต่างๆ ซึ่งเป็นจริงที่ผู้เรียนได้เข้ามามีส่วนร่วมทางกายภาพที่สมบูรณ์ในเหตุการณ์ต่างๆ อันเป็นสิ่งที่ไม่มีจากการเรียนในห้องเรียน
วันพุธที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
ครั้งที่ 3 วันที่ 1 กรกฏาคม 2553
สื่อการเรียนการสอน หมายถึง อุปกรณืต่างๆที่อาจเป็นวัสดุ เครื่องมือหรือกิจกรรมที่ครุเลือกมาและวางแผนใช้ราวมเข้าไปในเนื้อหาของหลักสูตรวิชาต่างๆ อย่างเหมาะสมกับความต้องการระดับชั้นสติปัญญาและความสามารถของนักเรียนเพื่อให้กระบวนการเรียนการสอนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
- สื่อที่พัฒนาด้านสติปัญญา เช่น ไม้บล็อค เด็กต้องการลองผิดลองถูกในการคิดและต้องสังเกตแล้วจะเกืดประสบการณ์ ถ้าประสบการณ์สะสมมากเด็กก็จะมีฐานความรู้
- สื่อทางเทคโนโลยีการศึกษา เป็นพาหะที่จะนำฐานความรู้ไปยังผู้เรียนเพื่อให้เกิดการเรียนรู้เช่น วิดีทัศน์เป็นสื่อการสอน เพราะวิดีทัศน์เป็นตัวนำสารไปให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้
สื่อการเรียนการสอน คือ ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวเรา เช่น วัสดุอุปกรณ์
สื่อกับผู้เรียน
คุณค่าสื่อการเรียนการสอน
- ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจบทเรียนได้เร็วขึ้น
- ช่วยให้สนใจบทเรียนและใช้ประสาทสัมผัสในการรับรู้ (ปาก ตา หู จมูก มือ)
- ทำให้เข้าใจบทเรียนเนื้อหาที่ยุ่งยากซับซ้อนได้ง่ายขึ้นในระยะเวลาอันสั้นและเกิดความคิดรวบยอดในเรื่องนั้นได้ถูกต้อง
- ให้ประสบการณ์รูปธรรมแก่ผู้เรียน และเกิดความประทับใจจำได้นาน
- ช่วยในการศึกษาหาความรู้สามารถนำประสบการณ์เดิมไปสัมพันธ์กับสิ่งใหม่ได้ต่อเนื่องกัน
- ส่งเสริมความคิดการแก้ปัญหาและความคิดสร้างสรรค์
- ช่วยให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอนมากขึ้น
- ช่วยสร้างบรรยากาศที่ดีในการเรียนการสอน
- ช่วยลดการบรรยายของครูผู้สอน
- ผู้สอนมีการตื่นตัวในการผลิตสื่อต่างๆ ให้น่าสนใจยิ่งขึ้น
หลักการเลือกสื่อการสอน
1.สื่อนั้นต้องสัมพันธ์กับมาตรฐานการเรียนรู้และผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
2.เลือกสื่อที่มีเนื้อหาถูกต้อง
3.เป็นสื่อที่เหมาะสมกับวัยระคับชั้นความรู้และประสบการณ์ของผู้เรียน
4.สื่อนั้นควรสะดวกในการใช้มีวิธีใช้ไม่ซับซ้อนยุ่งยากเกินไป
5.ต้องเป้นสื่อที่มีคุณภาพเทคนิคการผลิตที่ดีมีความชัดเจนและเป็นจริง
6.มีราคาไม่แพงจนเกินไปหรือถ้าจะผลิตเองหรือคุ้มกับเวลาและการลงทุน
ขั้นตอนในการใช้สื่อ
1.ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
2.ขั้นดำเนินการสอนหรือประกอบกิจกรรมการเรียน
3.ขั้นวิเคราะห์และฝึกปฎิบัติ
4.ขั้นสรุปบทเรียน
5.ขั้นประเมินผู้เรียน
หลักการใช้สื่อการเรียนการสอน
1.เตรียมตัวผู้สอน
2.เตรียมจัดสภาพแวดล้อม
3.เตรียมพร้อมผู้เรียน
4.การใช้สื่อ
5.การติดตามผล
หลักการใช้สื่อการเรียนและการวางแผน
-การเลือกดัดแปลงหรือออกแบบสื่อ (Select,Modify or Design Materials)
1.เลือกจากสื่อที่มีอยู่แล้ว
2.ดัดแปลงสิ่งที่มีอยู่
3.ออกแบบสื่อใหม่
การใช้สื่อ(Utilize Materials)
-ดูหรืออ่านเนื้อหาเหล่านั้นก่อนเป็นการเตรียมตัว
-จัดเตรียมสถานที่ ที่นั่งเรียน อุปกรณ์ เครื่องมือและสิ่งต่างๆ
-เตรียมตัวผู้เรียนโดยการใช้สื่อนำเข้าสู่บทเรียน
วันอังคารที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
ครั้งที่ 2 วันที่24 มิถุนายน 2553
สื่อการเรียนการสอน
สื่อ หมายถึง ตัวกลางที่ถ่ายทอดไปยังผู้ฟังผู้รับจากผู้สั่งการ
- เด็กปฐมวัย คือเด็กที่มีอายุตั้งแต่แรกเกิดถึง 6 ปีบริบูรณ์ การอบรมและเลี้ยงดูแก่เด็กปฐมวัยมีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากเด็กวัยนี้ต้องการการเรียนรู้ในสิ่งแวดล้อมรอบๆตัว ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ด้านคือ
1.ด้านร่างกาย
2.ด้านสติปัญญา
3.ด้านจิตใจ-อารมณ์
4.ด้านสังคม
5.ด้านจิตวิญญาณ
- พัฒนาการของเด็ก คือ การเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีเพราะเด็กช่วงวัยนี้จะมีความสำคัญต่อการจัดประสบการณ์และเพื่อพัฒนาเด็กให้บรรลุตาม จุดมุ่งหมายจึงเป็นสิ่งที่บุคลากรผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาในระดับปฐมวัยต้องให้ความสนใจ และเข้าใจพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของเด็กวัยนี้
- เด็กปฐมวัยมีวิธีการเรียนรู้โดยการเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมรอบตัว เรียนรู้จากคนใกล้ชิดโดยการเลียนแบบท่าทางลักษณะ เช่น พ่อแม่คนเลี้ยงดู และเรียนรู้จากการเล่น เช่นการเล่นเป็นกลุ่มจะทำให้เด็กเรียนรู้จากการเล่นด้วยกัน การแบ่งปันของเล่น การมีมิตรภาพต่อกัน
สื่อ หมายถึง ตัวกลางที่ถ่ายทอดไปยังผู้ฟังผู้รับจากผู้สั่งการ
- เด็กปฐมวัย คือเด็กที่มีอายุตั้งแต่แรกเกิดถึง 6 ปีบริบูรณ์ การอบรมและเลี้ยงดูแก่เด็กปฐมวัยมีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากเด็กวัยนี้ต้องการการเรียนรู้ในสิ่งแวดล้อมรอบๆตัว ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ด้านคือ
1.ด้านร่างกาย
2.ด้านสติปัญญา
3.ด้านจิตใจ-อารมณ์
4.ด้านสังคม
5.ด้านจิตวิญญาณ
- พัฒนาการของเด็ก คือ การเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีเพราะเด็กช่วงวัยนี้จะมีความสำคัญต่อการจัดประสบการณ์และเพื่อพัฒนาเด็กให้บรรลุตาม จุดมุ่งหมายจึงเป็นสิ่งที่บุคลากรผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาในระดับปฐมวัยต้องให้ความสนใจ และเข้าใจพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของเด็กวัยนี้
- เด็กปฐมวัยมีวิธีการเรียนรู้โดยการเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมรอบตัว เรียนรู้จากคนใกล้ชิดโดยการเลียนแบบท่าทางลักษณะ เช่น พ่อแม่คนเลี้ยงดู และเรียนรู้จากการเล่น เช่นการเล่นเป็นกลุ่มจะทำให้เด็กเรียนรู้จากการเล่นด้วยกัน การแบ่งปันของเล่น การมีมิตรภาพต่อกัน
ครั้งที่1 วันที่ 17 มิถุนายน 2553
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)